อ่านทั้งหมด | 803 |
---|---|
แก้ไขล่าสุด | 2022-06-20 09:33:56 |
ตำบล | ท่าพี่เลี้ยง |
อำเภอ | เมืองสุพรรณบุรี |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
รหัสไปรษณีย์ | 72000 |
ตำแหน่ง
|
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อีกหนึ่งวัดดัง แห่งเมืองสุพรรณบุรี กล่าวกันว่า หากมาแล้ว ไม่แวะที่วัดแห่งนี้ ก็เหมือนยังมาไม่ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยที่วัดป่าเลไลยก์เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง อีกทั้งเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
Meeting Points Thailand จะได้พาเพื่อน ๆ ไปเที่ยว จ.สุพรรณบุรีกันค่ะ เกริ่นก่อนเลยว่า วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นสถานที่ ที่ผู้คนต่างก็หลั่งไหล แวะเวียนกันมาที่นี่ เป็นสถานที่อันดับต้น ๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในช่วงวันหยุด จะมีผู้คนมากมายมากราบไหว้ขอพร ชมความงดงามของ หลวงพ่อโต และกราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลอีกด้วยค่ะ
ประวัติ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่า มีอายุราว 1,200 กว่าปี วัดตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า วัดป่า ค่ะ ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระก่ออิฐถือ ปูนขนาดใหญ่ มีความสูง ถึง 23.47 เมตร
ในพงศาวดารเหนือ กล่าวว่า
"ขณะนั้น พระเจ้ากาแต เป็นเชื้อมาแต่ นเรศน์ หงษาวดี ได้มา เสวยราชสมบัติ แล้วมาบูรณวัดโปรดสัตววัดหนึ่ง วัดภูเขาทองวัดหนึ่ง วัดใหญ่วัดหนึ่ง สามวัดนี้แล้ว จึงให้มอญน้อย เปนเชื้อมาแต่พระองค์ ออกไปสร้างวัดสนามไชย แล้วมาบูรณวัดพระป่าเลไลย ในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรีนั้น ข้าราชการบูรณวัดแล้ว ก็ชวนกันบวชเสียสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ ชื่อว่า เมืองสองพันบุรี แล้วพระองค์ จึงยกนาเปนส่วนสัดวัดไว้ พระองค์อยู่ในสิริราชสมบัติ ๔๐ ปี จึงสวรรคต จุลศักราช 565 (พ.ศ. ๑๗๒๔) ขาลเบญจศก"
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะ สมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท) มีนักปราชญ์หลายท่าน กล่าวว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้ง อย่างพระพนัญเชิงสมัยแรก ต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูป บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจาก พระมหาเถรไลยลาย
วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้อง กับวรรณคดีอันลือชื่อ ของไทย คือ เสภาขุนช้างขุนแผน นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่ ปัจจุบัน วัดป่าเลไลยก์ เนื้อที่ กว้าง 82 ไร่ 1 งาน มีสถานะเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีชื่อเต็มว่า วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร นั่นเองค่ะ
หลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ ได้รับการบูรณะ ถึง 3 ครั้ง
- ครั้งแรก เมือ พ.ศ.1706 โดยมอญน้อย
- ครั้งที่ 2 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์ อมรินทร์ ในรัชกาลที่ 3 กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้พระยาสีหราชเดโชไชย ไปสร้างวิหารวัดป่าเลไลยก์
- ครั้งที่ 3 ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระยานิกรบดินทร์ มาบูรณะปฏิสังขรณ์
การบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น อันสืบเนื่องมาจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในขณะที่ยังไม่ได้ครองราชย์ พระองค์ทรงผนวช เสด็จธุดงค์มาจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลกย์ ทรงพบเห็นวัดป่าเลไลยก์รกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และปกครองวัด จึงทำให้สภาพของ วัดป่าเลไลยก์เสื่อมโทรมมาก เมื่อเข้านมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ แล้วทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากได้ขึ้นครองราชย์เมื่อใด ก็จะมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถวาย
เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ในช่วงของการครองราชย์ โปรดเกล้าให้พระยานิกรบดินทร์ มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์ โดยขุดคลอง ตั้งแต่วัดประตูสาร ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ล่องแพซุงเข้าไป จน ถึงวัดป่าเลไลยก์ สร้างหลังคา ข้างละสองชั้น ทำฝาผนัง รอบนอก รวมหลังคาพระวิหาร ข้างละ 5 ชั้น พร้อมซ่อมองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ด้วย สร้างพระพุทธรูปไว้ อีก 2 องค์ อยู่ในวิหารเบื้องหน้าหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ทั้งซ้าย และขวา ประดิษฐานตราพระมงกุฏ อยู่ที่หน้าบันพระวิหาร เป็นเครื่องหมายอีกด้วย
ภาพเขียนเรื่องราว ขุนช้าง-ขุนแผน
รอบ ๆ วิหาร ของหลวงพ่อโต มีจิตรกรรมฝาผนัง เล่าเรื่องราวของขุนช้าง-ขุนแผน ตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนถึงตอนสุดท้าย เป็นภาพที่สวยงาม และได้ความรู้อีกด้วยค่ะ
เสภาขุนช้างขุนแผน
เมื่อนางทองประศรี พาพลายแก้ว ไปอยู่เมืองกาญจน์ ก็เก็บหอมรอมริบ จนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐี เมื่อพลายแก้วเติบโต ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้มาเรียนคาถาอาคม พร้อมกับเทศน์มหาชาติ กับสมภารมีแห่งวัดป่าเลไลยก์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์เรื่องราวดี ๆ ทางวัดป่าเลไลยก์ จึงได้จัดให้มีเทศน์มหาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี และสร้างเรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทยไม้สัก เพื่อให้ลูกหลานได้ทัศนศึกษา
เรือนขุนช้าง
เป็นเรือนไทยแบบโบราณ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าเลไลยก์ สร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือน จะเห็นภาพวาดตัวละครขุนช้าง สามารถถ่ายรูปเป็นที่ระลึกได้ แต่ละห้องจะมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีการจัดแสดงเครื่องใช้ต่าง ๆ ในสมัยโบราณ มีการตกแต่บริเวณโดยรอบสวยงาม นอกจากจะได้มาเที่ยว สักการะขอพรแล้ว ยังได้ความรู้ด้วยค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี เรียกได้ว่า ว่าหากมาเยือนเมืองสุพรรณ แล้วไม่แวะ ก็เหมือนมาไม่ถึงเลยน้า
อ่านบทความเพิ่มเติม